Warm welcome to wanglili blog OHAYOU GOZAIMASU. O genki desu ka?/

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

จิตวิทยาการเรียนรู้

จิตวิทยาการเรียนรู้
ความหมายของการเรียนรู้

นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
- คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
-ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์ "
-คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา “
-พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's Third New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
จุดมุ่งหมายการเรียนรู้พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน ๓ ด้าน ดังนี้
๑. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain
๒. ด้านเจตพิสัย (Affective Domain )
๓. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
1. ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
2. ความเข้าใจ (Comprehend)
3. การประยุกต์ (Application)
4. การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้


5. การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
6. การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
1. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง6. เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวมทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
1. การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
5. ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
6. การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง

องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller)เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. แรงขับ (Drive)
๒. สิ่งเร้า (Stimulus)
๓. การตอบสนอง (Response)
๔. การเสริมแรง (Reinforcement)
ธรรมชาติของการเรียนรู้

Stimulus สิ่งเร้า Sensation ประสาทรับสัมผัส Perception การรับรู้
Concept ความคิดรวบยอด Response ปฏิกิริยาตอบสนอง Learning เกิดการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

1. การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
2. การเรียนรู้ย่อมมีการแก้ไข ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง เนื่องมาจากประสบการณ์
3. การเปลี่ยนแปลงชั่วครั้งชั่วคราวไม่นับว่าเป็นการเรียนรู้
4. การเรียนรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรม
5. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
6. การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่อาศัยวุฒิภาวะ วุฒิภาวะคือระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของบุคคลในแต่ละช่วงวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ
7. การเรียนรู้เกิดได้ง่ายถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
8. การเรียนรู้ของแต่ละคนแตกต่างกัน
9. การเรียนรู้ย่อมเป็นผลให้เกิดการสร้างแบบแผนของพฤติกรรมใหม่
10. การเรียนรู้อาจจะเกิดขึ้นโดยการตั้งใจหรือเกิดโดยบังเอิญก็ได้

การถ่ายโยงการเรียนรู้
การถ่ายโยงการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ ๒ ลักษณะ คือ
การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive Transfer)v
การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer)

การนำความรู้ไปใช้
๑. ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่ ต้องแน่ใจว่า ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มาแล้ว
๒. พยายามสอนให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง
๓. ไม่ลงโทษผู้ที่เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ และไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่เท่ากันในเวลาเท่ากัน
๔. ถ้าสอนบทเรียนที่คล้ายกัน ต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนแรกได้ดีแล้วจึงจะสอนบทเรียนต่อไป
๕. พยายามชี้แนะให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียนที่มีความสัมพันธ์กัน

ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์ เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ แบ่งออกได้ ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ
๑. ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)
๒. ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)
ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่องทฤษฎีนี้เห็นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response) ปัจจุบันเรียกนักทฤษฎีกลุ่มนี้ว่า "พฤติกรรมนิยม" (Behaviorism) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ ดังนี้
๑. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theories)
๑.๑ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theories)
๑.๒ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)

http://sailomaonploy.blogspot.com/๒. ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theories)
๒.๑ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory)
๒.๒ ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่อง (S-R Contiguity Theory)I

van P. Pavlovนักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย ทำการทดลองเพื่อศึกษาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงระหว่างการตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามธรรมชาติที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus = UCS) และสิ่งเร้า ที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) จนเกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าที่เป็นกลางให้กลายเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus = CS) และการตอบสนองที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditioned Response = UCR) เป็นการตอบสนองที่มีเงื่อนไข (Conditioned Response = CR)
ลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นดังนี้
๑. ก่อนการวางเงื่อนไขUCS (อาหาร) UCR (น้ำลายไหล)สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (เสียงกระดิ่ง) น้ำลายไม่ไหล
๒. ขณะวางเงื่อนไขCS (เสียงกระดิ่ง) + UCS (อาหาร) UCR (น้ำลายไหล
๓. หลังการวางเงื่อนไขCS (เสียงกระดิ่ง) CR (น้ำลายไหล)
John B. Watsonนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ทำการทดลองการวางเงื่อนไขทางอารมณ์กับเด็กชายอายุประมาณ ๑๑ เดือน โดยใช้หลักการเดียวกับ Pavlovหลังการทดลองเขาสรุปหลักเกณฑ์การเรียนรู้ได้ ดังนี้
๑. การแผ่ขยายพฤติกรรม (Generalization) มีการแผ่ขยายการตอบสนองที่วางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้า ที่คล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
๒. การลดภาวะ หรือการดับสูญการตอบสนอง (Extinction) ทำได้ยากต้องให้สิ่งเร้าใหม่ (UCS ) ที่มีผลตรงข้ามกับสิ่งเร้าเดิม จึงจะได้ผลซึ่งเรียกว่า Counter - Conditioning
ลำดับขั้นของการเรียนรู้ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
(1) ประสบการณ์
(2) ความเข้าใจ
(3) ความนึกคิด

จิตวิทยาการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม( Cognitivism)
กลุ่มพุทธินิยม หรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ทฤษฎีในกลุ่มนี้ทีสำคัญ ๆ มี 5 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีเกสตอลท์(Gestalt’s Theory)
2. ทฤษฎีสนาม (Field Theory)
3. ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)
4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory)
5. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning)
ทฤษฎีทางจิตวิทยาได้เอามาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาคือ
1. การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theory)ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของกาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ดังนี้
- สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน
- แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน
- กระตุ้นให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่ เสนอบทเรียนใหม่ๆ ด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม
- ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ
- กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ
- ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
- การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์
- ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน

2. การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจะใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มาใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีของ เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม มาใช้โดยการให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ได้เรียนรู้ในกลุ่ม เป็นการเรียนแบบร่วมมือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถสรุปใจความสำคัญของทฤษฎีสนามในการจัดกิจกรรมกลุ่มได้ดังนี้
1. พฤติกรรมเป็นผลจากพลังความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม
2. โครงสร้างกลุ่มเกิดจากการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน
3. การรวมกลุ่มแต่ละครั้งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเช่น ในรูปการกระทำ (act) ความรู้สึกและความคิด
4. องค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว จะก่อให้เกิดโครงสร้างของกลุ่ม แต่ละครั้งที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม
5. สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและพยายามช่วยกันทำงานจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลาง

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Idiom


Make hay while the sun shines.

"น้ำขึ้นให้รีบตัก"

The reward of a good thing well done is to have it done.
"รางวัลของสิ่งที่เรียกว่ายอดเยี่ยมคือการได้สร้างมันขึ้นมา "

The only man who never makes mistakes is the man who never does anything.
"คนที่ไม่เคยทำผิดคือคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลย "

Imagination is more important than knowledge.
"จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ที่มี "

There is nothing either good or bad but thinking makes it so.
"ไม่มีสิ่งใดๆในโลกที่ดีหรือเลว มีแต่ความคิดของเราเท่านั้นที่ทำให้เกิดความดีและความเลว"
Obstacles are those frightful things you see when you take your eyes off your goals
"อุปสรรคคือสิ่งที่น่าตกใจก็ต่อเมื่อคุณไม่ได้มองไปที่จุดหมายปลายทาง"

The determined man finds the way, the other finds an excuse or alibi.
"ผู้ที่แน่วแน่และมุ่งมั่นจะหาหนทางแก้ปัญหา ในขณะที่คนอื่นจะหาหนทางแก้ตัว"

Chinese language



Chinese Language


我们
คำอ่าน : wo men หว่อเมินคำแปล: พวกเรา
我的 คำอ่าน : wo de หว่อ เตอ
คำแปล: ของฉัน/ผม

你,您 คำอ่าน : ni, nin หนี่ . หนิน
คำแปล : คุณ, ท่าน

你们 คำอ่าน : Ni men หนี่ เมิน
คำแปล : พวกคุณ

你的 คำอ่าน : ni de หนี่ เตอ
คำแปล : ของคุณ

我喜欢
คำอ่าน: wo xihuan หว่อสี่ฮวน
คำแปล: ฉัน/ผม ชอบ

我不喜欢
คำอ่าน: wo bu xihuan หว่อ ปู้ สี่ฮวน
คำแปล: ผม/ฉัน ไม่ชอบ

我看不见
คำอ่าน: wo kan bu jian หว่อ คั่น ปู้ เจี้ยน
คำแปล: ฉัน/ผม มองไม่เห็น

我听不见
คำอ่าน: wo ting bu jian หว่อ ทิง ปู้ เจี้ยน
คำแปล: ฉัน/ผม ฟังไม่ได้ยิน

你吃饭了吗
คำอ่าน: ni chifan le ma? หนี่ ชือฟั่น เลอมา
คำแปล: คุณทานข้าวหรือยัง

我还没吃
คำอ่าน:wo hai mei chi หว่อ ไห เมย ชือ
คำแปล: ยังไมได้ทาน

我吃了คำอ่าน: wo chi le หว่อ ชือ เลอ
คำแปล: ทานแล้ว

你好คำอ่าน: Ni hao หนี่ ห่าว
คำแปล: สวัสดี

你好吗คำอ่าน: Ni hao ma หนี่ ห่าว มา
คำแปล: สบายดีหรือเปล่า

我很好 谢谢。你呢คำอ่าน: wo hen hao. Xiexie.Ni ne?หว่อเหิน ห่าว เซี่ย เซี่ย. หนี่ เนอ
คำแปล: สบายดี ขอบคุณ แล้วคุณล่ะ

我也很好คำอ่าน: wo ye hen hao หว่อ เหย่ เหิน ห่าว
คำแปล: ผม/ ฉัน ก็สบายดี

你叫什么名字คำอ่าน: ni jiao shen me mingziหนี่ เจี้ยว เสินเมอ หมิงจื้อ
คำแปล: คุณชื่ออะไร

我叫…………คำอ่าน: wo jiao….หว่อ เจี้ยว
คำแปล: ฉัน/ผม ชื่อ

很高兴见到你คำอ่าน: เหิ่นเกาซิ่ง เจี้ยนเต้าหนี่
คำแปล: ดีใจที่ได้พบคุณ
在见คำอ่าน: Zai jian ไจ้เจี้ยน
คำแปล: ลาก่อน

你听得到我说话吗คำอ่าน: ni ting de dao wo shuo hua ma?หนี่ทิงเตอเต้าหว่อวัวฮว่ามา
คำแปล: ได้ยินผม/ ฉันไหม

我听不见คำอ่าน: wo ting bu jian หว่อทิงปู้เจี้ยน
คำแปล: ผม/ ฉัน ไม่ได้ยินคุณเลย

请大声点คำอ่าน: Qing da sheng dianฉิ่งต้าเซิงเตี่ยน / ฉิงซัวมั่นเตี่ยน
คำแปล: พูดดัง / ช้าๆหน่อย

好九没见คำอ่าน: Hao jiao mei jian le!ห่าวจิ๋วเหมยเจี้ยนเลอ
คำแปล: ไม่ได้เจอกันตั้งนาน

我是泰国人คำอ่าน: Wo shi tai guo ren หว่อซื่อไท่กั๋ว เหริน
คำแปล: ฉัน/ผม เป็นคนไทย

我从泰国来คำอ่าน: Wo cong tai guo lai หว่อ ฉง ไท่กั๋ว ไหล
คำแปล: ฉัน/ผม มาจากประเทศไทย

我回去了คำอ่าน: Wo hui qu le. หว่อ หุ๋ย ฉวี่ เลอ
คำแปล: ผม/ฉัน กลับแล้วนะ

我想去长城คำอ่าน: Wo xiang qu changchengหว่อ เชี่ยงฉวี่ ฉาง เฉิง
คำแปล: ผม/ฉัน อยากไปกำแพงเมืองจีน

ภาษาและเทศโนโลยีเพื่อการศึกษา

วิชาภาษาและเทคโนโลยีรหัสวิชาGD
ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู 3 (1-2-3)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
อาจารย์ผู้สอน ผศ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์
โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
****************************************************

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (Technology in Education) หมายถึง การนำเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอน เพื่อให้การศึกษาการสอนการเรียนมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการศึกษา ได้แก่เทคโนโลยีต่าง ๆ ดังนี้

1. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการสื่อสารทางไกลโดยผ่านระบบการสื่อสารคมนาคมต่าง ๆ
2. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ในการรับข้อมูล ประมวลผลข้อมูลและนำเสนอข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้องการ3. เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network-LAN) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ไม่มากนัก มักอยู่ในอาคารหลังเดียว เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network-WAN) เป็นระบบเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์กระจายอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ช่วยให้สำนักงานในจังหวัดติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกับสำนักงานใหญ่ที่อยู่ในเมืองหลวงได้
4. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ เป็นแนวคิดที่นำระบบเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์สำนักงาน เช่น ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบประชุมทางไกล
5. เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ เป็นการประมวลผลข้อมูลในลักษณะต่าง ๆ เพื่อช่วยในการจัดการและบริหารงาน
6. ระบบมัลติมีเดีย เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อความเข้าด้วยกันโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการแสดงผล นำไปประยุกต์ใช้ในการสอน เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) กิจกรรมเพื่อการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในปัจจุบันนี้ได้แก่ วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา วิทยุโรงเรียน โทรทัศน์เพื่อการศึกษา การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ระบบประชุมทางไกล ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในบทความผู้เขียนได้กล่าวถึงความสำคัญของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่มีในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และประวัติการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึก
ษาของไทยไว้ด้วย






ที่มา : ชม ภูมิภาค, เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา, เทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 หน้า 15-17 2543

หน่วยที่ ห้า


ฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นข้อมูลฝึกปฏิบัติการเรื่องต่อไปนี้- สร้างความคุ้นเคยกับพังก์ชันต่าง ๆ ของ Internet Explorer- การใช้งาน Search Engine ในการสืบค้นข้อมูล- การใช้งาน E-Book- จาก Scenario ที่กำหนด ให้ทำการออกแบบเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้สำหรับองค์กรให้ทำการค้นหาจาก Internetข้อมูลการตัดสินในควรประกอบด้วยo รายละเอียด ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น RAM, Hard disk และอื่น ๆo ให้ทำการเปรียบเทียบราคาด้วย3. มอบหมาย Coursework Assignment· การใช้งาน System Softwareo Doso Windows· การสร้าง Webpage ด้วย Application Software· การออกแบบและตกแต่งตัวอักษรและรูปภาพด้วย Application Software- ให้ออกแบบตารางเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล โดยใช้ MS Word- ให้ทำการสร้างตารางที่ได้ทำการออกแบบไว้โดยใช้ MS Accessการ Upload ข้อมูลขึ้นสู่ Web-Serverการใช้งาน FTP สำหรับการดาวน์โหลดข้อมูลการ Share ข้อมูลบนระบบเครือข่ายการดูแลความปลอดภัยบนระบบเครือข่ายขั้นพื้นฐาน



เทศโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นข้อมูล




เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นข้อมูล........

หลักการและความสำคัญระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารนิเทศห้องสมุด การสืบค้น การใช้ข้อมูลสารสนเทศ และแสวงหาความรู้จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และแหล่งสารสนเทศ การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศ การจัดเก็บสารสนเทศบนระบบฐานข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การใช้ระบบมัลติมีเดีย การสร้างสารนิเทศ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพและการเรียนรู้สังคมยุคข่าสารข้อมูลอาจารย์: นิธิมา แก้วมณีศึกษาข้อมูลดังนี้· ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ· ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ· องค์ประกอบของระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์· แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศประโยชน์ของระบบสารสนเทศ· วิวัฒนาการของฮาร์ดแวร์· ประเภทของคอมพิวเตอร์· ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์· อุปกรณ์การนำเข้าข้อมูล· ซีพียูและหน่วยความจำหลัก· หน่วยความจำสำรอง· เทคโนโลยีด้านการส่งออกข้อมูลแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ·


ประเภทของซอฟแวร์· ซอฟแวร์ระบบ (System Software)· ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application software)ภาษาโปรแกรม (Programming Language)· ระบบแฟ้มข้อมูล· ปัญหาของระบบแฟ้มข้อมูล· ฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล· องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล· ความสัมพันธ์ของข้อมูล· ประเภทของระบบฐานข้อมูล· การออกแบบระบบฐานข้อมูลการสร้างระบบฐานข้อมูล· การสื่อสารโทรคมนาคม· องค์ประกอบระบบสื่อสารโทรคมนาคม· ตัวกลางหรือช่องทางของการสื่อสาร· สัญญาณอิเลคทรอนิคส์· ลักษณะตัวกลางในการสื่อสาร· กระบวนการสื่อสาร· เครือข่าย· อินเทอร์เน็ต· World Wide WebWireless Networkจริยธรรมและความปลอดภัยในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ· ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรม· การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว· การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา· อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์· การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์

Internet เพื่อการศึกษา




อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา
1. การใช้เป็นระบบสื่อสารส่วนบุคคล บนอินเตอร์เน็ตมีอิเล็กทรอนิกส์เมล์หรือเรียกย่อๆ ว่า อีเมล์(E-mail) เป็นระบบที่ทำให้การสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ละบุคคลจะมีตู้จดหมายเป็นของตัวเองสามารถส่งข้อความถึงกันผ่านในระบบนี้โดยส่งไปยังตู้จดหมายของกันและกันนอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใปใช้ทางการศึกษาได้
2. ระบบข่าวสารบนอินเตอร์เน็ต มีลักษณะเหมือนกระดานข่าวที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทุกคนสามารถเปิดกระดานข่าวที่ตนเองสนใจหรือสามารถส่งข่าวสารผ่านกลุ่มข่าวบนกระดานนี้เพื่อโต้ตอบข่าวสารกันได้
3. การใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกัน และติดต่อกับห้องสมุดทั่วโลกทำให้การค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพหมายถึงสามารถค้นหาและได้มาซึ่งข้อมูลโดยใช้เวลาอันสั้นโดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ตจะมีคำหลัก (Index) ไว้ให้สำหรับการสืบค้นที่รวดเร็ว

4. ฐานข้อมูลเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Wed) เป็นฐานข้อมูลแบบเอกสาร (Hypertext) และแบบมีรูปภาพ (Hypermedia) จนมาปัจจุบัน ฐานข้อมูลเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นจนเป็นแบบมัลติมีเดีย(Multimedia)ซึ่งมีทั้งข้อความ รูปภาพ วีดิทัศน์ และเสียงผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสืบค้นกันได้จากที่ต่างๆ ทั่วโลก
5. การพูดคุยแบบโต้ตอบหรือคุยเป็นกลุ่ม บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันและพูดคุยกันได้ด้วยเวลาจริง ผู้พูดสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนเครือข่าย
6. การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันแบบ FTP (Files Transfer Protocol) คือสามารถที่จะโอนย้ายถ่ายเทข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมากๆ ได้ โดยส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งทำให้สะดวกต่อการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันโดยไม่ต้องเดินทางและข่าวสารถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
7. การใช้ทรัพยากรที่ห่างไกลกัน ผู้เรียนอาจเรียนอยู่ที่บ้านและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยได้ และยังสามารถขอใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในต่างมาวิทยาลัยได้


Ruangkhao's slide

Picture slide