Warm welcome to wanglili blog OHAYOU GOZAIMASU. O genki desu ka?/

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Idiom


Make hay while the sun shines.

"น้ำขึ้นให้รีบตัก"

The reward of a good thing well done is to have it done.
"รางวัลของสิ่งที่เรียกว่ายอดเยี่ยมคือการได้สร้างมันขึ้นมา "

The only man who never makes mistakes is the man who never does anything.
"คนที่ไม่เคยทำผิดคือคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลย "

Imagination is more important than knowledge.
"จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ที่มี "

There is nothing either good or bad but thinking makes it so.
"ไม่มีสิ่งใดๆในโลกที่ดีหรือเลว มีแต่ความคิดของเราเท่านั้นที่ทำให้เกิดความดีและความเลว"
Obstacles are those frightful things you see when you take your eyes off your goals
"อุปสรรคคือสิ่งที่น่าตกใจก็ต่อเมื่อคุณไม่ได้มองไปที่จุดหมายปลายทาง"

The determined man finds the way, the other finds an excuse or alibi.
"ผู้ที่แน่วแน่และมุ่งมั่นจะหาหนทางแก้ปัญหา ในขณะที่คนอื่นจะหาหนทางแก้ตัว"

Chinese language



Chinese Language


我们
คำอ่าน : wo men หว่อเมินคำแปล: พวกเรา
我的 คำอ่าน : wo de หว่อ เตอ
คำแปล: ของฉัน/ผม

你,您 คำอ่าน : ni, nin หนี่ . หนิน
คำแปล : คุณ, ท่าน

你们 คำอ่าน : Ni men หนี่ เมิน
คำแปล : พวกคุณ

你的 คำอ่าน : ni de หนี่ เตอ
คำแปล : ของคุณ

我喜欢
คำอ่าน: wo xihuan หว่อสี่ฮวน
คำแปล: ฉัน/ผม ชอบ

我不喜欢
คำอ่าน: wo bu xihuan หว่อ ปู้ สี่ฮวน
คำแปล: ผม/ฉัน ไม่ชอบ

我看不见
คำอ่าน: wo kan bu jian หว่อ คั่น ปู้ เจี้ยน
คำแปล: ฉัน/ผม มองไม่เห็น

我听不见
คำอ่าน: wo ting bu jian หว่อ ทิง ปู้ เจี้ยน
คำแปล: ฉัน/ผม ฟังไม่ได้ยิน

你吃饭了吗
คำอ่าน: ni chifan le ma? หนี่ ชือฟั่น เลอมา
คำแปล: คุณทานข้าวหรือยัง

我还没吃
คำอ่าน:wo hai mei chi หว่อ ไห เมย ชือ
คำแปล: ยังไมได้ทาน

我吃了คำอ่าน: wo chi le หว่อ ชือ เลอ
คำแปล: ทานแล้ว

你好คำอ่าน: Ni hao หนี่ ห่าว
คำแปล: สวัสดี

你好吗คำอ่าน: Ni hao ma หนี่ ห่าว มา
คำแปล: สบายดีหรือเปล่า

我很好 谢谢。你呢คำอ่าน: wo hen hao. Xiexie.Ni ne?หว่อเหิน ห่าว เซี่ย เซี่ย. หนี่ เนอ
คำแปล: สบายดี ขอบคุณ แล้วคุณล่ะ

我也很好คำอ่าน: wo ye hen hao หว่อ เหย่ เหิน ห่าว
คำแปล: ผม/ ฉัน ก็สบายดี

你叫什么名字คำอ่าน: ni jiao shen me mingziหนี่ เจี้ยว เสินเมอ หมิงจื้อ
คำแปล: คุณชื่ออะไร

我叫…………คำอ่าน: wo jiao….หว่อ เจี้ยว
คำแปล: ฉัน/ผม ชื่อ

很高兴见到你คำอ่าน: เหิ่นเกาซิ่ง เจี้ยนเต้าหนี่
คำแปล: ดีใจที่ได้พบคุณ
在见คำอ่าน: Zai jian ไจ้เจี้ยน
คำแปล: ลาก่อน

你听得到我说话吗คำอ่าน: ni ting de dao wo shuo hua ma?หนี่ทิงเตอเต้าหว่อวัวฮว่ามา
คำแปล: ได้ยินผม/ ฉันไหม

我听不见คำอ่าน: wo ting bu jian หว่อทิงปู้เจี้ยน
คำแปล: ผม/ ฉัน ไม่ได้ยินคุณเลย

请大声点คำอ่าน: Qing da sheng dianฉิ่งต้าเซิงเตี่ยน / ฉิงซัวมั่นเตี่ยน
คำแปล: พูดดัง / ช้าๆหน่อย

好九没见คำอ่าน: Hao jiao mei jian le!ห่าวจิ๋วเหมยเจี้ยนเลอ
คำแปล: ไม่ได้เจอกันตั้งนาน

我是泰国人คำอ่าน: Wo shi tai guo ren หว่อซื่อไท่กั๋ว เหริน
คำแปล: ฉัน/ผม เป็นคนไทย

我从泰国来คำอ่าน: Wo cong tai guo lai หว่อ ฉง ไท่กั๋ว ไหล
คำแปล: ฉัน/ผม มาจากประเทศไทย

我回去了คำอ่าน: Wo hui qu le. หว่อ หุ๋ย ฉวี่ เลอ
คำแปล: ผม/ฉัน กลับแล้วนะ

我想去长城คำอ่าน: Wo xiang qu changchengหว่อ เชี่ยงฉวี่ ฉาง เฉิง
คำแปล: ผม/ฉัน อยากไปกำแพงเมืองจีน

ภาษาและเทศโนโลยีเพื่อการศึกษา

วิชาภาษาและเทคโนโลยีรหัสวิชาGD
ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู 3 (1-2-3)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
อาจารย์ผู้สอน ผศ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์
โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
****************************************************

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (Technology in Education) หมายถึง การนำเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอน เพื่อให้การศึกษาการสอนการเรียนมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการศึกษา ได้แก่เทคโนโลยีต่าง ๆ ดังนี้

1. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการสื่อสารทางไกลโดยผ่านระบบการสื่อสารคมนาคมต่าง ๆ
2. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ในการรับข้อมูล ประมวลผลข้อมูลและนำเสนอข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้องการ3. เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network-LAN) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ไม่มากนัก มักอยู่ในอาคารหลังเดียว เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network-WAN) เป็นระบบเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์กระจายอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ช่วยให้สำนักงานในจังหวัดติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกับสำนักงานใหญ่ที่อยู่ในเมืองหลวงได้
4. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ เป็นแนวคิดที่นำระบบเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์สำนักงาน เช่น ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบประชุมทางไกล
5. เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ เป็นการประมวลผลข้อมูลในลักษณะต่าง ๆ เพื่อช่วยในการจัดการและบริหารงาน
6. ระบบมัลติมีเดีย เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อความเข้าด้วยกันโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการแสดงผล นำไปประยุกต์ใช้ในการสอน เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) กิจกรรมเพื่อการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในปัจจุบันนี้ได้แก่ วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา วิทยุโรงเรียน โทรทัศน์เพื่อการศึกษา การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ระบบประชุมทางไกล ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในบทความผู้เขียนได้กล่าวถึงความสำคัญของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่มีในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และประวัติการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึก
ษาของไทยไว้ด้วย






ที่มา : ชม ภูมิภาค, เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา, เทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 หน้า 15-17 2543

หน่วยที่ ห้า


ฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นข้อมูลฝึกปฏิบัติการเรื่องต่อไปนี้- สร้างความคุ้นเคยกับพังก์ชันต่าง ๆ ของ Internet Explorer- การใช้งาน Search Engine ในการสืบค้นข้อมูล- การใช้งาน E-Book- จาก Scenario ที่กำหนด ให้ทำการออกแบบเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้สำหรับองค์กรให้ทำการค้นหาจาก Internetข้อมูลการตัดสินในควรประกอบด้วยo รายละเอียด ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น RAM, Hard disk และอื่น ๆo ให้ทำการเปรียบเทียบราคาด้วย3. มอบหมาย Coursework Assignment· การใช้งาน System Softwareo Doso Windows· การสร้าง Webpage ด้วย Application Software· การออกแบบและตกแต่งตัวอักษรและรูปภาพด้วย Application Software- ให้ออกแบบตารางเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล โดยใช้ MS Word- ให้ทำการสร้างตารางที่ได้ทำการออกแบบไว้โดยใช้ MS Accessการ Upload ข้อมูลขึ้นสู่ Web-Serverการใช้งาน FTP สำหรับการดาวน์โหลดข้อมูลการ Share ข้อมูลบนระบบเครือข่ายการดูแลความปลอดภัยบนระบบเครือข่ายขั้นพื้นฐาน



เทศโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นข้อมูล




เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นข้อมูล........

หลักการและความสำคัญระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารนิเทศห้องสมุด การสืบค้น การใช้ข้อมูลสารสนเทศ และแสวงหาความรู้จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และแหล่งสารสนเทศ การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศ การจัดเก็บสารสนเทศบนระบบฐานข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การใช้ระบบมัลติมีเดีย การสร้างสารนิเทศ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพและการเรียนรู้สังคมยุคข่าสารข้อมูลอาจารย์: นิธิมา แก้วมณีศึกษาข้อมูลดังนี้· ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ· ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ· องค์ประกอบของระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์· แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศประโยชน์ของระบบสารสนเทศ· วิวัฒนาการของฮาร์ดแวร์· ประเภทของคอมพิวเตอร์· ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์· อุปกรณ์การนำเข้าข้อมูล· ซีพียูและหน่วยความจำหลัก· หน่วยความจำสำรอง· เทคโนโลยีด้านการส่งออกข้อมูลแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ·


ประเภทของซอฟแวร์· ซอฟแวร์ระบบ (System Software)· ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application software)ภาษาโปรแกรม (Programming Language)· ระบบแฟ้มข้อมูล· ปัญหาของระบบแฟ้มข้อมูล· ฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล· องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล· ความสัมพันธ์ของข้อมูล· ประเภทของระบบฐานข้อมูล· การออกแบบระบบฐานข้อมูลการสร้างระบบฐานข้อมูล· การสื่อสารโทรคมนาคม· องค์ประกอบระบบสื่อสารโทรคมนาคม· ตัวกลางหรือช่องทางของการสื่อสาร· สัญญาณอิเลคทรอนิคส์· ลักษณะตัวกลางในการสื่อสาร· กระบวนการสื่อสาร· เครือข่าย· อินเทอร์เน็ต· World Wide WebWireless Networkจริยธรรมและความปลอดภัยในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ· ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรม· การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว· การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา· อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์· การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์

Internet เพื่อการศึกษา




อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา
1. การใช้เป็นระบบสื่อสารส่วนบุคคล บนอินเตอร์เน็ตมีอิเล็กทรอนิกส์เมล์หรือเรียกย่อๆ ว่า อีเมล์(E-mail) เป็นระบบที่ทำให้การสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ละบุคคลจะมีตู้จดหมายเป็นของตัวเองสามารถส่งข้อความถึงกันผ่านในระบบนี้โดยส่งไปยังตู้จดหมายของกันและกันนอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใปใช้ทางการศึกษาได้
2. ระบบข่าวสารบนอินเตอร์เน็ต มีลักษณะเหมือนกระดานข่าวที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทุกคนสามารถเปิดกระดานข่าวที่ตนเองสนใจหรือสามารถส่งข่าวสารผ่านกลุ่มข่าวบนกระดานนี้เพื่อโต้ตอบข่าวสารกันได้
3. การใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกัน และติดต่อกับห้องสมุดทั่วโลกทำให้การค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพหมายถึงสามารถค้นหาและได้มาซึ่งข้อมูลโดยใช้เวลาอันสั้นโดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ตจะมีคำหลัก (Index) ไว้ให้สำหรับการสืบค้นที่รวดเร็ว

4. ฐานข้อมูลเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Wed) เป็นฐานข้อมูลแบบเอกสาร (Hypertext) และแบบมีรูปภาพ (Hypermedia) จนมาปัจจุบัน ฐานข้อมูลเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นจนเป็นแบบมัลติมีเดีย(Multimedia)ซึ่งมีทั้งข้อความ รูปภาพ วีดิทัศน์ และเสียงผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสืบค้นกันได้จากที่ต่างๆ ทั่วโลก
5. การพูดคุยแบบโต้ตอบหรือคุยเป็นกลุ่ม บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันและพูดคุยกันได้ด้วยเวลาจริง ผู้พูดสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนเครือข่าย
6. การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันแบบ FTP (Files Transfer Protocol) คือสามารถที่จะโอนย้ายถ่ายเทข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมากๆ ได้ โดยส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งทำให้สะดวกต่อการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันโดยไม่ต้องเดินทางและข่าวสารถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
7. การใช้ทรัพยากรที่ห่างไกลกัน ผู้เรียนอาจเรียนอยู่ที่บ้านและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยได้ และยังสามารถขอใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในต่างมาวิทยาลัยได้


คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา



คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา........
1. ความหมายของคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาคอมพิวเตอร์ (Computer) อาจให้ความหมายได้หลายทัศนะ เช่น คอมพิวเตอร์ คือเครื่องประมวลผลที่จัดให้ข้อมูลดิบอยู่ในรูปแบบที่สื่อความหมายเหมาะกับการนำไปใช้ในลักษณะต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี มีหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้จำนวนมาก สามารถคำนวณเปรียบเทียบข้อมูลที่มีความยุ่งยากซับซ้อนได้ในเวลาเพียงเศษส่วนของวินาที คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดคำนวณ และสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลข ตัวอักษร และรูปภาพได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไปนอกจากนี้ยังสามารถจัดการเกี่ยวกับสัญลักษณ์ (Symbol) ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตาม ขั้นตอนของโปรแกรม สามารถเปรียบเทียบข้อมูลทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลไว้ในตัวเครื่องสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่าง ๆ ได้วัตถุประสงค์เมื่อเสนอกระบวนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนนี้แล้ว ผู้ศึกษาสามารถ
1. อธิบายความหมายและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ได้
2. ระบุชนิดและประเภทขอคอมพิวเตอร์ได้3. อธิบายการทำงานและองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
4. อธิบายการใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษาได้ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ แนะนำส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ส่วนประกอบทั่วไปของคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้าสู่หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เพื่อทำการประมวลต่อไป
2. หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU (Central Processing Unit) ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ และทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างภายในคอมพิวเตอร์3. หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล ซึ่งมีรูปแบบการแสดงผลอยู่ 2 แบบ คือ3.1 แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้3.2 แบบที่ไม่มีสำเนาเก็บ
4.คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้องค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
2.ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสินคำตอบ
3. ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัล หรือ คะแนน
4. ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไป
5. การวัดประเมินผลคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาการประเมินบทเรียนและสภาพการนำไปใช้มีบทเรียนจำนวนไม่น้อยที่ประเมินโดยผ่านข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการใช้จริงตามความมุ่งหมายของบทเรียนนั้นๆ

ดังนั้นจึงอาจคาดเดาได้ยากว่าการ ใช้บทเรียนนั้นๆ ในสภาพจริงจะประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลว เพราะความสำเร็จหรือความล้มเหลวของ CAI ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ CAIบทเรียนแต่จะขึ้นอยู่กับระดับการนำไปใช้จริงด้วยดังนั้นการประเมินบทเรียนควรพิจารณาในเรื่องนี้ให้ละเอียดดังที่รากอสตา (Ragosta.1983 : 124) ได้กล่าวว่า"ความสำเร็จของ CAI จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นจากากรใช้บทเรียนนั้น เมื่อผู้เรียนเรียนจาก CAI ผู้เรียนควรได้เกิดจากการเรียนรู้แบบรอบรู้ เป็นการเรียนด้านวิชาการโดยแท้ เป็นการสดนแบบโดยตรง (Direct Instruction)บรรยากาศในการเรียนดีเป็นการคาดได้ว่า ผู้เรียนได้รับทักษะตามที่คาดหวังและผู้เรียนมีโอกาสมีส่วนร่วม หรือลงมือปฏิบัติในการเรียนระดับสูง
ที่มา http://sailomaonploy.blogspot.com/

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552

A miracle



At first I thought we would just be friends.

A little did we know, our friendship would bend

To a love that’s so big for the world to seethat you and me are meant to be.
Sun or snow,

rain or shineforever,

forever you will be mine

Mine for me,

mine to be

Mine for all eternity.

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Technology



คำว่า "เทคโนโลยี”(Technology) มาจากรากศัพท์ "Technic" หรือ "Techno"
ซึ่งมีความหมายว่า วิธีการ หรือการจัดแจงอย่างเป็นระบบ รวมกับ "logy" ซึ่งแปลว่า “ศาสตร์” หรือ “วิทยาการ” ดังนั้น คำว่า "เทคโนโลยี" ตามรากศัพท์จึงหมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการ หรือการจัดแจงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดระบบใหม่และเป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ที่ตั้งใจไว้ได้ ซึ่งก็มีความหมายตรงกับความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรม คือ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นการจัดแจงหรือการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพมาใช้ในกระบวนการของการศึกษา ซึ่งเป็นพฤติกรรมศาสตร์ โครงสร้างมโนมติของเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องประกอบด้วย มโนมติทางวิทยาศาสตร์กายภาพ มโนมติทางพฤติกรรมศาสตร์ โดยการประสมประสานของมโนมติอื่นที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพทางวิศวกรรมและทางเคมีได้เครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์ สามารถผลิตหนังสือตำราต่างๆ ได้
และจากการประยุกต์หลักพฤติกรรมศาสตร์ทางจิตวิทยา จิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้ได้เนื้อหาในลักษณะเป็นโปรแกรมขั้น ย่อย ๆ จากง่ายไปหายาก เมื่อรวมกันระหว่างวิทยาศาสตร์กายภาพและพฤติกรรมศาสตร์ในตัวอย่างนี้ ทำให้เกิดผลิตผลทางเทคโนโลยีการศึกษาขึ้น คือ "ตำราเรียนแบบโปรแกรม".........อีกตัวอย่างหนึ่งการประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพเกี่ยวกับแสง
เสียงและอิเล็กทรอนิกส์บนพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ใช้ระบบเลขฐานสองทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์
เมื่อประสมประสานกับผลการประยุกต์ทาง พฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล หลักการวิเคราะห์งาน และทฤษฎีสื่อการเรียนการสอนแล้ว
ทำให้ได้ผลผลิตทางเทคโนโลยีการศึกษา คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted Instruction: CAI)

Ruangkhao's slide

Picture slide